วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Brand I-Mobile






Brand : I – Mobile
ปัจจัยที่ทำให้แบรนด์มีคุณค่า โดยอ้างอิงองค์ประกอบของคุณค่าแบรนด์ทั้ง 4 ของ David Aaker


- Brand awareness
“ไอ-โมบาย” ที่มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา จากโจทย์หลักคือ การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และหาตลาดเฉพาะกลุ่มที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของตัวเอง ซึ่งทำให้ ไอ-โมบาย เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น เริ่มจากการพัฒนาสินค้า โดยนึกถึงความเป็นคนไทยมักจะรักสนุก ชอบเสียงเพลง ไอ-โมบาย จึงใช้เพลงเป็นจุดยืนตลอดมา ต่อมาเพิ่มกล้องถ่ายรูป กล้องVDO มาไว้ในเครื่องเดียว ไอ-โมบาย ไม่ใช่เพียงการเลือกสรรความล้ำหน้าของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับความสนุกสนาน ความบันเทิงที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
ไอ-โมบาย จึงทำตลาดตามแนวคิด Multimedia Society โดยวางภาพลักษณ์ของกลุ่มผู้ใช้ ไอ-โมบาย เป็นผู้ที่ชื่นชอบในเทคโนโลยีมัลติมีเดีย รักความสนุกสนาน ไอ-โมบาย จึงเลือกสรรผลิตภัณฑ์ที่เน้นฟังก์ชั่นมัลติมีเดีย ทั้ง วิดีโอ กล้องดิจิตอล เครื่องเล่น MP3 และ เลือกสรร Content แปลกใหม่ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน การทำตลาดตาม brand concept นี้ ยังสะท้อนผ่านแคมเปญโฆษณาของโทรศัพท์มือถือ ไอ-โมบาย ทำให้โฆษณาทุกชิ้นเป็นที่จดจำของผู้บริโภค ในภาพลักษณ์การเป็นผู้นำตลาด Music Phone หรือ MP3 Phone และ ไอ-โมบาย ใช้จุดแข็งของผลิตภัณฑ์เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าทุกระดับ ตั้งแต่ basic phone ไปจนถึง ระดับ high-end


(นางสาว นพวรรณ ตันย์สถิตไพบูลย์ section 3011 no. 23 1500309545)

- Brand loyalty
จากตลาดของโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย ณ ขณะนี้มีการแข่งขันกันเป็นอย่างสูงนั้น ทั้ง แบรนด์ระดับอินเตอร์ และแบรนด์ของไทยเอง “ไอ-โมบาย” ซึ่งเป็นแบรนด์ของไทย จึงมีข้อจำกัดของความเป็นแบรนด์ไทย คือ ถ้าแบรนด์ยังไม่แข็งแกร่ง เวลาเกิดความผิดพลาดขึ้นมา การให้อภัย ความเห็นอกเห็นใจ ดูจะขาดแคลนมากกว่าแบรนด์ระดับอินเตอร์ ทำให้ “ไอ-โมบาย” อาจจะยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก เพราะในตลาดโทรศัพท์มือถือในไทยนั้น มีคู่แข่งแข่งขันกันมากมาย ที่เพียบพร้อมทั้งชื่อเสียงและคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันปัญหาเรื่องคุณภาพของเครื่องถือเป็นจุดอ่อนของไอ-โมบาย ที่ทำให้คนไม่เชื่อถือ ซึ่งตอนนี้ได้ปรับปรุงจนเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว

“ไอ-โมบาย” ก็ได้พยายามสร้าง Brand loyalty เริ่มตั้งแต่มีการสำรวจตลาด และความต้องการของผู้บริโภคว่าอยากได้หรืออยากให้โทรศัพท์เป็นแบบใด เพราะ ไอ-โมบาย พยายามให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจมากที่สุด เนื่องจากสินค้าที่ขายในปัจจุบันไม่เข้าใจคนไทยมากเท่ากับคนไทยด้วยกันเอง จากนั้นได้ให้ความสำคัญด้านการบริการต่าง ๆ ตั้งแต่คำนึงถึงความสะดวกสบายในการจับจ่ายแบบ One Stop Shopping โดยได้มีการปรับภาพลักษณ์ใหม่ของร้านไอ-โมบาย บายสามารถ ให้เป็นร้านโมบายมัลติมีเดีย ต้นแบบ ในคอนเซปต์ The Futuretainment Experience โดยผู้ใช้บริการจะได้พบกับประสบการณ์ของเทคโนโลยีสื่อสารและความบันเทิงแบบล้ำอนาคต และบริการหลังการขาย จากการรับฟังข้อร้องทุกข์หรือข้อเสนอแนะที่ลูกค้ามีต่อสินค้าหรือบริการ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมให้ซื่อสัตย์ต่อบริษัทตลอดไป ซึ่งทำให้การซื้อโทรศัพท์ แบรนด์ ไอ-โมบาย จึงไม่ใช่เป็นเพียงการซื้อเครื่องโทรศัพท์ไปเท่านั้น แต่ยังมีเนื้อหาและบริการพิเศษที่มาพร้อมกันอีกด้วย

(นาย โชติวัฒน์ บุญลักขะ section 3011 no. 24 1500309552)
(นาย ไตรรัตน์ วีสมหมาย section 3011 no. 25 1500309560)

- Percieved Quality
ท่ามกลางสงครามการให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ปัจจุบันนี้มีให้ผู้บริโภคได้เลือกอย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป้นทั้งในตัวเรื่องของการใช้งาน ฟังก์ชั่นของเครื่อง รูปทรงการออกแบบหรือยี่ห้อเครื่องก็ตาม ใน2-3 ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือกำลังก้าวเข้าสู่ยุค 3G สามารถแสดงผลได้ทั้งภาพ ข้อมูลและเสียง ทำให้มือถือสายพันธุ์ใหม่ๆ เป็นที่ต้องการควบคู่ไปกับการบริโภคข้อมูลที่หลากหลายและเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น และในช่วงระยะเวลาเพียงหนึ่งปีเศษ สินค้าของไอ-โมบายกลายเป็นผู้นำตลาดโทรศัพท์มือถือ 1ใน 5 ของไทย ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จอย่างงดงาม

"ไอ-โมบาย" เป็นบริษัทหนึ่งของแบรนด์ไทยในเครือสามารถ ที่มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
จึงถือว่าเป็นแบรนด์ไทยที่ประสบผลสำเร็จได้ดีมีขีดความสามารถไม่แพ้แบรนด์อินเตอร์อย่างโนเกีย

คุณธนานันท์ วิไลลักษณ์ รองกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด(มหาชน) กล่าวกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ถึงปัจจัยที่ทำให้ไอ-โมบาย ประสบความสำเร็จว่า เกิดจาก 3 แนวคิดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ได้แก่

1. I-information :เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยและครบวงจร
2. I-interactive : สังคมใหม่ของชาวไร้สายที่มีความสนใจเทคโนโลยีใหม่ๆ
และ 3. I-individual : ความเป็นตัวของตัวเองของคนรุ่นใหม่ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาให้ ไอ-โมบาย เป็นศูนย์กลางของสังคมมือถือของคนไทยและภูมิภาคเอเชียอย่างแท้จริง

"ปัจจัยสำคัญที่สุดคือเราเป็นบริษัทคนไทย แนวคิดคือ ทำอย่างไร? ให้คนไทยหรือคนเอเชียลูกค้าในภูมิภาคนี้พึงพอใจในสินค้าของเรา เพราะสินค้าที่ขายในปัจจุบันไม่เข้าใจคนไทยมากเท่ากับคนไทยด้วยกันเอง
แรกเริ่มเราใส่รายละเอียดในโทรศัพท์รุ่นแรก เราเลือกใช้เอ็มพี 3 เพราะถ้าหากนึกถึงความเป็นคนไทยมักจะรักสนุก และเพลงก็คือสิ่งที่บ่งบอกลักษณะเด่นของคนไทยได้ดีที่สุด เราจึงผลักดันตลาดของไอ-โมบายโดยใช้เพลงเป็นจุดยืนตลอดมา เรามองเห็นตลาดที่โทรศัพท์ควรจะมีเพลงติดอยู่ในเครื่อง จากนั้นเคลื่อนมาที่กล้อง วีดีโอ และอื่นๆ เป็นเครื่องเดียวในตลาดที่ให้ได้มากที่สุด ความคิดที่สำคัญของไอ-โมบาย คือ ต้องคิดเสมอว่าลูกค้าฉลาด ไม่ดูถูกลูกค้า"

ชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันนี้คนไทยมีความนิยมในแบรนด์ไทยมากขึ้นหากแบรนด์ไทยสร้าง perceived quality ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกำหนดวิสัยทัศน์และภาพลักษณ์ ของการเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ในโลกยุคปัจจุบัน ที่ต้องก้าวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิตอล ซึ่งมีวิวัฒนาการอย่างไม่หยุดนิ่ง

“ไอ-โมบาย” มีการทำการตลาดตามแนวคิด Multimedia Society โดยวางภาพลักษณ์ของกลุ่มผู้ใช้ ไอ-โมบาย เป็นผู้ที่ชื่นชอบในเทคโนโลยีมัลติมีเดีย รักความสนุกสนาน ไอ-โมบาย เลือกสรรผลิตภัณฑ์ที่เน้นฟังก์ชั่นมัลติมีเดีย ทั้ง วิดีโอ กล้องดิจิตอล เครื่องเล่น MP3 และ เลือกสรร Content แปลกใหม่ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน ซึ่งไอโมบายสามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนไทยในเรื่องการใช้งานที่ทนทาน ราคาไม่แพงจนเกินไป ลูกเล่นในตัวมือถือไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการฟังเพลง เล่นเกม การดีไซน์ รวมไปถึงความรู้สึกของผู้ใช้โทรศัพท์ไอโมบายในแง่ว่าการซื้อโทรศัพท์ แบรนด์ ไอ-โมบาย ไม่ใช่เป็นเพียงการซื้อเครื่องโทรศัพท์ไปเท่านั้น แต่ยังมีเนื้อหาและบริการพิเศษที่มาพร้อมกันอีกด้วย เพราะปัจจัยไม่ได้อยู่แค่ตัวเครื่อง ไอโมบายพยายามคิดอยู่เสมอว่าทำอย่างไรให้ลูกค้าใช้งานง่าย นอกจากนี้ไอโมบายพยายามหาความตกต่างจากสินค้าอื่นๆ เช่น ใช้ความคิดสร้างสรรค์และความก้าวหน้า สร้างให้ไอ-โมบายมีนวัตกรรมที่ใครถือแล้วจะสร้างความรู้สึกไฮเทค ทันสมัย เป็นประเด็นหลักที่จะทำให้มั่นใจในสินค้า ให้ความสำคัญกับความสนุกสนาน ความบันเทิงที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย จึงเป็นที่มาของการจัดทำ ไอ-โมบายแพกเกจ "โมบาย + คอนเทนต์" เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ และยังต้องคำนึงถึงความสะดวกสบายในการจับจ่ายแบบ One Stop Shopping โดยได้มีการปรับภาพลักษณ์ใหม่ของร้านไอ-โมบาย บายสามารถ ให้เป็นร้านโมบายมัลติมีเดีย ต้นแบบ ในคอนเซปต์ The Futuretainment Experience ซึ่งผู้ใช้บริการจะได้พบกับประสบการณ์ของเทคโนโลยีสื่อสารและความบันเทิงแบบล้ำอนาคต

ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าในอดีต แบรนด์ไอโมบายเคยมีปัญหาเรื่องคุณภาพของเครื่อง ซึ่งปัจจุบันก็ยังถือเป็นจุดอ่อนของไอ-โมบาย ที่ทำให้คนไม่เชื่อถือ แต่ทางบริษัทก็มีการทดลองและแก้ไขปรับปรุงพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์เรื่อยๆ โดยเริ่มจากการทำการสำรวจตลาด และความต้องการของผู้บริโภคว่าอยากได้หรืออยากให้โทรศัพท์เป็นแบบใด? ส่วนของการออกแบบนั้นพยายามสร้างความหลากหลายของตัวเครื่อง แต่จุดแข็งที่เน้นก็คือ Performance มากกว่า คือประสิทธิภาพของเครื่องในการที่จะฟังเพลง ดูหนัง ซึ่งประสิทธิภาพด้านนี้ของ ไอ-โมบาย มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด
(นายสุทธิพร สาริพันธ์ 1500313976 เลขที่ 36)
( น.ส.ภัทรภร รัตนสินทวีกุล 1500314016 เลขที่ 37)

- Brand Association ของ I-Mobile

I-Mobile เป็นแบรนด์ไทยที่ประสบความสำเร็จในด้านการสร้างแบรนด์ เรื่องของความสัมพันธ์เกี่ยวข้องของ
แบรนด์กับลูกค้า ไอ-โมบายได้พัฒนาระบบปฏิบัติการของมือถือให้เข้ากับวิถีของคนไทย มือถือรุ่นแรกของไอ-โมบายมีการนำนวัตกรรมทางด้านเสียงเพลงอย่าง mp3มาใส่ไว้ในมือถือ โดยศึกษาพฤติกรรมของคนไทยที่รักความสนุกสนานและเสียงเพลงจึงทำให้คนไทยสนใจหรือทดลองที่จะให้มือถือ
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีทางด้านเครือข่ายของ Internet อย่าง3G ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทกับระบบการสื่อสารของคนไทย ระบบ3Gมีความสามารถสูงในการติดต่อสื่อสารอย่างไร้พรหมแดน ทางบริษัทจึงเล็งเห็นความสำคัญและได้พัฒนาให้มือถือมีการรองรับระบบ3G แถมมีApplicationต่างๆลงมาอยุ่ในมือถือไอ-โมบาย จึงทำตลาดตามแนวคิด Multimedia Society โดยวางภาพลักษณ์ของกลุ่มผู้ใช้ ไอ-โมบาย เป็นผู้ที่ชื่นชอบในเทคโนโลยีมัลติมีเดีย รักความสนุกสนาน ไอ-โมบาย เลือกสรรผลิตภัณฑ์ที่เน้นฟังก์ชั่นมัลติมีเดีย ทั้ง วิดีโอ กล้องดิจิตอล เครื่องเล่น MP3 และ เลือกสรร Content แปลกใหม่ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน

การซื้อโทรศัพท์ แบรนด์ ไอ-โมบาย จึงไม่ใช่เป็นเพียงการซื้อเครื่องโทรศัพท์ไปเท่านั้น แต่ยังมีเนื้อหาและบริการพิเศษที่มาพร้อมกันอีกด้วย เพื่อตอบสนองLifestyleของคนรุ่นใหม่ได้ลองสัมผัสและต้องการความรวดเร็วสะดวกสบายจากระบบ3G I-Mobile สามารถสร้างภาพลักษณ์ไปยังต่างประเทศทั่วโลกโดยจึงทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จทางการสร้างแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านชื่อเสียง ความสัมพันธ์ที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ได้อีกด้วย

ปัจจัยสำคัญที่สุดคือเราเป็นบริษัทคนไทย แนวคิดคือ ทำอย่างไร? ให้คนไทยหรือคนเอเชียลูกค้าในภูมิภาคนี้พึงพอใจในสินค้าของเรา เพราะสินค้าที่ขายในปัจจุบันไม่เข้าใจคนไทยมากเท่ากับคนไทยด้วยกันเอง


(เต็มศิริ เนติโพธิ์ 1500314164 เลขที่ 38)

-การคุ้มครองคุณค่าแบรนด์ผ่านกฎหมาย (IP Protection)
แบรนด์สินค้าของเอเชียยังมีโอกาสรออยู่อีกมากในอนาคต แต่สิ่งที่จะเป็นอุปสรรคของแบรนด์ทั้งหลายคือ ความไม่จริงจังในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สินค้าปลอมแปลง และค่านิยมเรื่องของดีราคาถูก นอกจากนี้ในอนาคตแบรนด์ท้องถิ่นเหล่านี้จะต้องเจอความท้าทายครั้งใหญ่ คือการเปิดเสรีทางการค้า และทำให้แบรนด์ท้องถิ่นไร้การป้องกัน ดังนั้น จึงจะเป็นบทพิสูจน์กันแล้วว่า แบรนด์เหล่านี้แข็งแกร่งแค่ไหน ทั้งนี้ ไอโมบายมีการปกป้องคุณค่าของแบรนด์ด้วยวิธีการตรวจสุขภาพแบรนด์ทุกปี
มีการจัดทำคู่มือการใช้เอกลักษณ์ของแบรนด์ มีการออกแบบโลโก้ จดลิขสิทธิ์การค้าที่ถูกต้อง มีการสอดส่องดูแลแบรนด์อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยในการป้องกันไม่ให้ใครมาแอบลอกเลียนเอาโลโก้ไปใช้ เนื่องจากพวกบรรดาของปลอมต่างๆที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไปในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นการปลอมอย่างซึ่งๆหน้า หรือการเลียนแบบ เอาโลโก้เราไปปรับมุม ปรับสีเล็กน้อย ล้วนแต่เป็นการกระทำที่ทำร้าย-ทำลาย Brand Equity ของเราทั้งสิ้น

(นาย ธนัท เมฆสวัสดิ์ section 3011 no. 45 1500319205)


อะไรเป็นแรงผลักดันความสำเร็จในการสร้างคุณค่าของแบรนด์ไทย”


ในเมืองไทย มีตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนของแบรนด์หลายๆแบรนด์ที่ได้รับความสำเร็จ หรือแบรนด์ที่เป็นแบรนด์ไทยเองที่ประสบผลสำเร็จในการสร้างแบรนด์ ยกตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือไอโมบาย เฟอร์นเจอร์อินเด็กซ์ ผลิตภัณฑ์มาลี อาหารกึ่งสำเร็จรูปมาม่า เครื่องดื่มชูกำลังสปอนเซอร์ เป็นต้น
ซึ่งหลายๆกลุ่มบริษัทผู้เป็นเจ้าของแบรนด์ได้มีความตระหนักถึงความสำเร็จของแบรนด์ที่จะส่งผลไปถึงความมั่นคงของเศรษฐกิจในประเทศด้วยการสร้างศักยภาพทางการแข่งขันให้แก่แบรนด์ไทย เพราะนี่คือปัจจัยสู่ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศ การสร้างแบรนด์ให้อยู่ในใจลูกค้าไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรต้องหาจุดเด่นที่เป็นความเชื่อเดียวกัน เพื่อที่จะให้การทำงานตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสุดท้ายสอดคล้องกับแนวทางที่วางไว้ ซึ่งการจะทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำของลูกค้านั้น อาจต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมากในการสร้างชื่อเสียงด้วยการประชาสัมพันธ์ให้กับแบรนด์ และเจ้าของแบรนด์จะต้องเชื่อว่าสินค้าจะเป็นตัวโปรโมตตัวเองได้ดีที่สุด นอกจากนั้นยังต้องมีการลงพื้นที่ด้วยการเข้าไปสัมผัสผู้บริโภคโดยตรง นอกจากจะทำให้รู้ข้อมูลทางประชากรศาสตร์แล้ว ยังทำให้สามารถประหยัดต้นทุน ขณะเดียวกันจะทำให้รู้ถึงความต้องการของลูกค้าอย่างใกล้ชิดและเกิดประสิทธิภาพตรงตามความต้องการ ส่วนในเรื่องของ
การวาง positioning ของแบรนด์ ผู้บริหารต้องมองเรื่องการบริหารจัดการภายในที่มีประสิทธิภาพก่อน เพราะเมื่อบริษัทวางตำแหน่งของสินค้าแล้วต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เสมือนเป็นการให้คำมั่นสัญญา (BRABD IS A PROMISE KEPT)ซึ่งต้องรักษาให้คงอยู่เสมอแม้ลูกค้าจะเป็นคนในประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันต้องพัฒนาบุคลากรเพื่อตอกย้ำสิ่งที่เป็นเป้าหมายให้เกิดเป็นดีเอ็นเอ เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์กับผู้บริโภคมากที่สุด
ในวันนี้หากแบรนด์ของเราได้รับความนิยมแล้ว อย่าได้มองเป้าหมายของการมุ่งไปข้างหน้าแต่เพียงเท่านี้ แรงผลักดันที่จะให้แบรนด์นั้นประสบความสำเร็จยิ่งๆขึ้นเรื่อยๆต้องมองแบรนด์และต้องรักษาแบรนด์ให้แบรนด์เป็นอมตะ ไม่แก่ไปตามกาลเวลา โดยมีการสำรวจความต้องการของลูกค้าทุกปี และมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับพนักงานที่พบปะกับลูกค้าเป็นประจำ เพื่อให้การพัฒนาสินค้าสามารถตอบสนองลูกค้าเดิมและลูกค้ากลุ่มใหม่ซึ่งขณะนี้มุ่งเน้นไปที่กลุ่มวัยรุ่น ด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีรูปทรงทันสมัยและรสชาติที่สอดรับกับความต้องการ เนื่องด้วยโลกของการแข่งขันมีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบเข้ามากระทบต่อการบริหารองค์กรอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การสร้างคุณค่าให้ผู้บริโภคและตัวแบรนด์ จะต้องยอมรับจึงต้องจัดการความเสี่ยงไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบในทุกสถานการณ์และทุกภูมิประเทศที่ทำตลาดอยู่ รวมทั้ง ต้องมีการรวบรวมความรู้เดิมเพื่อนำมาต่อยอดให้ได้สิ่งใหม่ที่บุคลากรภายในและผู้บริโภคยอมรับ ในขณะที่ ผู้บริหารจะต้องไม่กลัวการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย